พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (อังกฤษ: Celebration on the Auspicious Occasion of His Majesty the King's 6th Cycle Birthday Anniversary, July 28th, 2024) เป็นชื่องานฉลองที่ประกอบด้วยพระราชพิธี รัฐพิธี และราษฎรพิธี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบปีนักษัตรครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน โดยรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน และประชาชนชาวไทยร่วมกันจัดพระราชพิธีนี้ขึ้น

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ[แก้]

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐานัดแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ[1] ต่อมาเศรษฐาได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ในอีก 5 วันถัดมา และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีองค์ประกอบดังนี้[2]

พระราชพิธี[แก้]

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567[แก้]

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2567[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[3]

รัฐพิธี[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ[แก้]

สำหรับภาคประชาชน รัฐบาลไทยได้กำหนดขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีการผลิตและเผยแพร่สารคดี ข้อมูล ภาพประกอบ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ[4] เช่น การจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน, พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา, การจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ และการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นต้น[5]

การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก[แก้]

รัฐบาลไทยได้จัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ได้แก่พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระธาตุกบิลพัสดุ์" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 19 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพิพิธภัณฑ์กรุงนิวเดลี และพระอรหันตธาตุจากพุทธวิหาร สถูปสาญจี รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ประเทศไทย ตามโครงการ "ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง" ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2,567 ปี ที่มีการจัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวกพร้อมกัน[6][7]

การประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร[แก้]

รัฐบาลอินเดียได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุออกจากท่าอากาศยานกองทัพอากาศปาลาม ประเทศอินเดีย[8] มายังท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ใกล้กับท่าอากาศยานดอนเมือง และกระทรวงวัฒนธรรมได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[9] จากนั้นในวันถัดมา (23 กุมภาพันธ์) เวลา 16:00 น. มีการจัดริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเมื่อเวลา 17:00 น. มีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุขึ้นประดิษฐานบนมณฑปที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เสด็จเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[10] โดยพิธีนี้มีการถ่ายทอดสดทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และเอ็นบีที 2 เอชดี[11]

จากนั้นรัฐบาลไทยได้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา จนถึง 3 มีนาคม เวลา 09:00 - 20:00 น.[12] ก่อนขยายเวลาเพิ่มตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 08:00 - 21:00 น.[13] และวันที่ 2 และ 3 มีนาคม เป็นเวลา 07:00 - 21:00 น. ตามลำดับ[14] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะ พร้อมทั้งพระราชทานไฟประจำทั้งมณฑปหลักบริเวณท้องสนามหลวง และมณฑปส่วนภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 09:00 น.[15]

การประดิษฐานในส่วนภูมิภาค[แก้]

หลังจากเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลไทยจะอัญเชิญไปประดิษฐานใน 3 จังหวัดส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้เข้าสักการะบูชา ได้แก่[12]

โดยเปิดให้ประชาชนสักการะตั้งแต่เวลา 09:00 - 20:00 น. ของทุกวัน และตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของแต่ละวัน มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชน[12] และหลังจากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม จะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุกลับมายังกรุงเทพมหานคร และส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลอินเดียต่อไป[16]

สวนสนามทหารราชวัลลภ 2567[แก้]

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเนื่องในวันราชวัลลภ พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงนำทหารจากหน่วยราชวัลลภรักษาพระองค์ จำนวน 12 กองพัน สวนสนามเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของพระราชพิธีนี้ ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. อยู่ตรงกลาง อักษร ว ใช้สีขาวนวล สีแห่งวันจันทร์วันพระบรมราชสมภพ ตามคติมหาทักษา อักษร ป ใช้สีเหลือง วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และอักษร ร ใช้สีฟ้า วันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อยู่บนรูปทรงของเพชร อันหมายถึง พระปรมาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ” เพชรสีขาบ (สีน้ำเงินแก่อมม่วง) อันเป็นสีของพระมหากษัตริย์ ภายนอกกรอบของเพชร ประกอบด้วยแถบสีเขียว ซึ่งเป็นสีแห่งเดชวันพระบรมราชสมภพ ประดับด้วยเพชร 72 เม็ด หมายถึง พระชนมพรรษา 72 พรรษา

เบื้องบนของตราสัญลักษณ์ ประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ แสดงถึงการทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แสดงถึงพระบรมเดชานุภาพแผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน ยอดจงกลฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์ ดอกจำปาทองห้อยระบายชั้นล่างนพปฎลมหาเศวตฉัตร 8 ดอก หมายถึง พระบารมีแผ่ไปทั่วทั้ง 8 ทิศ เลข ๑๐ ไทย ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

เบื้องล่างปลายแถบแพร เบื้องขวามีรูปคชสีห์กายสีม่วงชมพูประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดิน เบื้องล่างประกอบด้วยลวดลายพญานาคกายสีเขียว อันแสดงถึงนักษัตรปีมะโรงอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ แพรแถบสีส้มขลิบทองซึ่งเป็นสีแห่งมูละของวันพระบรมราชสมภพ ภายในแพรแถบมีข้อความว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗" ใต้อักษรพระปรมาภิไธย ประกอบด้วยตัวเลข ๗๒ ไทย หมายถึงพระชนมพรรษา ลวดลายเฟื่องอุบะและลวดลายดอกรวงผึ้ง ดอกไม้ประจำพระองค์มีสีทอง อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและประเทศชาติ[17]

การใช้ตราสัญลักษณ์[แก้]

สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้ขึ้นตราสัญลักษณ์พระราชพิธีนี้ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. และจะขึ้นตราสัญลักษณ์นี้ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2567 ขึ้นจนถึงวันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 23:59 น.

การมอบตราสัญลักษณ์[แก้]

รัฐบาลไทยได้จัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 16:00 น. โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ การจัดงานในครั้งนี้และมอบให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล 20 กระทรวง ผู้บัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด (ผ่านระบบ ZOOM) และสื่อมวลชน 35 หน่วย[18]

สิ่งที่ระลึก[แก้]

สถานที่[แก้]

โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสะพานทศมราชันในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งตรงกับช่วงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[20]

เหรียญและเข็มที่ระลึก ฯ[แก้]

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ สำหรับจำหน่ายให้แก่ประชาชนเพื่อใช้ประดับ และเก็บไว้เป็นที่ระลึกในราคาเข็มละ 300 บาท โดยนำเงินรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ได้จัดทำโดยช่างฝีมือผู้มีความชำนาญ จัดทำด้วยความประณีต ละเอียดอ่อน สวยงาม สมพระเกียรติ และมีคุณค่า เหมาะสำหรับเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ทั้งนี้ สามารถสั่งจองได้ที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยจองผ่านเว็บไซต์ Thailandpostmart.com หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งผู้สั่งจองจะได้รับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567[21]

เสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ ฯ[แก้]

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดสั่งจองเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ผลิตเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งตอนนี้มีร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดทำเสื้อประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก

แสตมป์พระราชพิธี[แก้]

รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ธนบัตรที่ระลึก[แก้]

รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "'ประชุม ครม.' แบบ 'เศรษฐาสไตล์' ข้อสั่งการมาก-ทำงานเร็ว-กำหนดเวลาตามงาน". กรุงเทพธุรกิจ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566". รัฐบาลไทย. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ทร. เตรียมจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค "ในหลวง-พระราชินี" เสด็จฯ 27 ต.ค.นี้". www.thairath.co.th. 2024-01-26.
  4. "รัฐบาลเชิญชวนประดับธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา6รอบปี2567". โพสต์ทูเดย์. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "รัฐบาล เตรียมจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ "ในหลวง" 28 ก.ค. 2567". ไทยรัฐ. 8 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อัญเชิญ 'พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ' จากอินเดียมาไทย". มติชน. 7 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "วธ.จัดขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุยิ่งใหญ่". ไทยรัฐ. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุฯ จากอินเดียถึงไทยแล้ววันนี้". ฐานเศรษฐกิจ. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ จากอินเดียถึงไทยแล้ว (ภาพชุด)". มติชน. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "สมเด็จพระสังฆราช เสด็จอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง". ข่าวสด. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ถ่ายทอดสดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สนามหลวง". ฐานเศรษฐกิจ. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 "เปิดสักการะพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ 24 ก.พ.-3 มี.ค." ไทยพีบีเอส. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ขยายเวลาสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 08.00-21.00 น." พีพีทีวี. 27 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "ศรัทธาหลั่งไหล ขยายเวลาไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่สนามหลวงอีกครั้ง ใน 2 วันสุดท้าย เป็น 07.00-21.00 น." ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ในหลวง ทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย พระราชทานไฟ ณ 4 มณฑป ถวายเป็นพุทธบูชา". ไทยโพสต์. 26 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "สร้างมงคลชีวิต 24 ก.พ.นี้ ร่วมสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง". พีพีทีวีออนไลน์. พีพีทีวี. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "โปรดเกล้าฯ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". มติชน. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "รัฐบาลจัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". กรมประชาสัมพันธ์. 26 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "โครงการทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่4". ยูทูบ. 11 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 "ปลื้มปีติ! พระราชทานชื่อ "ทศมราชัน" สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ข้ามเจ้าพระยา". เดลินิวส์. 30 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "เปิดสั่งจอง เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". ไทยโพสต์. 29 มีนาคม 204. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]